เพื่อนๆ รู้จักคำว่า “Overtraining” ไหมครับ?
แน่นอนครับว่าสำหรับนักกีฬาแล้วการขยันฝึกซ้อมคือสิ่งสำคัญที่ต่างถูกปลูกฝังกันมาอย่างหนักแน่นว่า เป็นสิ่งที่จะทำให้นักกีฬาก้าวไปถึงตำแหน่งแชมป์ได้ เพราะการฝึกซ้อมทำให้นักกีฬามีศักยภาพร่างกายที่สมบูรณ์แบบ แต่ทั้งนี้ เราก็อาจลืมไปว่าถ้าระดับการฝึกซ้อมของนักกีฬานั้นมีมากจนเกินไป หรือ Overtraining นั้น สุดท้ายแล้วแทนที่จะเป็นผลดี มันก็จะกลายเป็นผลเสียซะมากกว่า
การเอาแต่ยกน้ำหนัก หรือฝึกซ้อมทักษะด้านใดด้านหนึ่งแบบมิติเดียวซ้ำๆ มากเกินไป คือสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ “หายนะ” 2 ประการที่จะกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้นักกีฬาก้าวไปถึงฝัน โดยหายนะแรกนั้นคือ “ความเบื่อหน่าย” นักกีฬาที่ถูกจัดโปรแกรมการฝึกซ้อมที่ซ้ำเดิมจนเกินไป และมีจำนวนชั่วโมงที่ยาวนานเกินไป ย่อมมีสภาพจิตใจที่ตึงเครียดและเบื่อหน่าย กว่านักกีฬาที่มีโปรแกรมซ้อมแบบสมดุล และได้เคลื่อนไหวได้ฝึกร่างกายในทุกๆ มิติ ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อความเบื่อหน่ายเข้าเกาะกุมใจ ความมุ่งมั่นตั้งใจและศักยภาพของนักกีฬา ก็จะถูกลดทอนไปด้วย
[irp posts=”72″ name=”4 ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำ SQUAT”]
[irp posts=”85″ name=”6 ข้อต้องรู้ ถ้าอยากมุ่งสู่ การมี 6 Packs!!”]
หายนะที่ 2 ของการ Overtraining คือ อาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บเรื้อรังได้ ซึ่งบางทีทั้งที่ไม่ได้เป็นอาการบาดเจ็บที่รุนแรง แต่กลับอันตรายและขวางทางสำเร็จนักกีฬาได้มากกว่า เพราะรบกวนร่างกายนักกีฬาเป็นเวลายาวนานจนทำให้ไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองให้กลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งดีไม่ดีการบาดเจ็บเรื้อรังที่เกิดจากการฝึกซ้อมมากเกินไปนั้น อาจร้ายแรงจนนำไปสู่การจบอาชีพนักกีฬาลงเลยก็เป็นได้
ดังนั้น สำหรับการจัดโปรแกรมการฝึกซ้อมของนักกีฬา การหลีกเลี่ยง Overtraining จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งโค้ชและตัวนักกีฬาเองไม่ควรมองข้าม โดยอย่าพยายามเอาแต่คิดว่า “การซ้อมหนัก” จะนำไปสู่ “ความสำเร็จ” เพราะแท้จริงแล้ว “ความสำเร็จ” บนเส้นทางอาชีพนักกีฬานั้น เกิดจากความสมบูรณ์พร้อมของปัจจัยหลายๆ อย่างรวมกันต่างหาก อาทิ สภาพจิตใจที่แจ่มใส สภาพร่างกายที่แข็งแรงไม่บาดเจ็บ โภชนาการที่ถึงพร้อม ความยืดหยุ่นของร่างกาย ประสบการณ์ในการแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด
การฝึกซ้อมที่มากเกินไป
คือหนึ่งในตัวการที่ทำให้
นักกีฬาก้าวไปไม่ถึงฝัน