เมื่อฝึกจนหมดไฟ ทำอย่างไร ให้มีใจกลับมาแกร่งอีกครั้ง

เมื่อฝึกจนหมดไฟ ทำอย่างไร ให้มีใจกลับมาแกร่งอีกครั้ง

ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือเป็นการฝึกซ้อมของนักกีฬาเพื่อลงแข่ง ต่างก็มีช่วงเวลาที่จิตใจห่อเหี่ยว หมดไฟ และรู้สึกว่าจะไม่สามารถผ่านไปได้ด้วยกันทั้งนั้นซึ่งปัญหาทางด้านจิตใจ ถือว่าเป็นอีกอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้เราไม่สามารถก้าวผ่านขีดจำกัดของตัวเองไปสู่การมีศักยภาพร่างกายที่ขึ้นตามที่ต้องการได้ ซึ่งแม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายกับการ “คิดเชิงบวก” เพื่อให้จุดไฟตัวเองกลับมาได้ใหม่ แต่เราก็ต้องพยายามฟื้นใจตัวเองให้กลับคืนมาให้ได้ เพื่อให้ยังมีโอกาสก้าวต่อไปจนถึงเป้าหมาย โดยแนวทางในการดูแลใจตัวเองให้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งหลังการฝึกหนัก หลังความล้มเหลวนั้น มีดังต่อไปนี้

1. มองความเครียดในมุมใหม่ ใช้เป็นแรงใจในการเติบโต

สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราก้าวผ่านความรู้สึกแย่ๆ ความรู้สึกหมดไฟไปได้นั้น คือต้องหาให้เจอก่อนว่า “อะไรคือความเครียด อะไรคือสิ่งที่ทำให้เราหมดไฟ” เพราะแพ้มาตลอด เพราะฝึกเท่าไรก็ยังไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะเหนื่อยเกินไป ฯลฯ ซึ่งเมื่อหาสาเหตุของการหมดไฟท้อแท้ใจเจอแล้ว ก็ค่อยๆ ตั้งสติ แล้วลองมองสาเหตุเหล่านั้นในมุมใหม่ดู คือ ที่เราแพ้มาตลอด อาจไม่ได้หมายความว่าเราจะแพ้ต่อไป แต่เป็นโอกาสให้เราเห็นว่าเรายังต้องพัฒนาจุดไหนเพื่อให้ชนะได้ในที่สุด ที่เราฝึกแล้วยังไม่สำเร็จ เพราะเรายังบกพร่องตรงไหน หรือถ้าเราเหนื่อยเกินไป บางทีแค่หยุดพักสักหน่อย ทุกอย่างก็น่าจะดีขึ้น การกลับมาทบทวนตัวเอง หาสาเหตุของความเครียด หาต้นตนของสิ่งที่ทำให้เราหมดไฟ ถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้เราก้าวผ่านความรู้สึกแย่ๆ ไปได้และกลับมามีใจเดินหน้าต่อไปอีกครั้ง

2. อย่าเอาความสำเร็จของคนอื่น มาทำให้ตัวเองขมขื่น

หลายๆ ครั้งความรู้สึกแย่ๆ ก็เกิดขึ้นจากการที่เราเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นมากเกินไป เราท่องไปในโลกของโซเชียล มองเห็นคนนั้นฝึกซ้อมแล้วสำเร็จ มองเห็นเขาลงแข่งแล้วชนะ หรือมองเห็นคู่แข่งตัวเองประสบความสำเร็จต่อหน้า ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เราหมกมุ่นอยู่กับการ “เห็นคนอื่นทำได้” แล้วย้อนกลับมาเหมาเอาว่าตัวเองไม่มีความสามารถ จนไฟในการฝึกซ้อม ในความพยายามค่อยๆ มอดดับลง ซึ่งในความเป็นจริงนั้น การมองคนอื่นควรมีขีดจำกัด และกรอบแนวทางในการมองเพื่อ “ยกระดับตัวเอง” มากกว่าจะทำให้ตัวเองตกต่ำลง ดังนั้น สิ่งที่เราควรทำก็คือ หันกลับมาให้เวลาตัวเองให้มาก อยู่กับตัวเองให้มาก หยุดเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ซึ่งเมื่อเราให้เวลากับตัวเองมากขึ้น เราก็จะค่อยๆ เห็นว่าตัวเราเองพัฒนาขึ้น คือเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเมื่อวาน แม้ว่าจะยังไม่บรรลุเป้าหมายก็ตาม ซึ่งมันก็ทำให้เราเกิดความคิดแนวบวก ไม่ได้รู้สึกคิดลบเหมือนกับการเอาตัวเองไปเปรียบกับคนอื่นที่ดีกว่า

3. ทำอะไรก็ได้ ที่ทำให้รู้สึกดี

เมื่อหัวใจเหนื่อยล้า ร่างกายก็ไม่อยากถูกฝึก ดังนั้น เราจะฝืนฝึกร่างกายต่อไป ก็เท่ากับเป็นการฝืนใจตัวเองด้วย ดังนั้น ในบางครั้งบางช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับความหม่นหมอง เราก็จำเป็นต้องให้โอกาสตัวเองได้หยุดพักจริงๆ บ้าง เราควรหากิจกรรมสนุกๆ ทำ ทำอะไรที่เราสนใจ ที่ชอบ ที่ทำแล้วรู้สึกดี เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้คลายความกังวล ความเครียดที่สะสมเอาไว้ เหมือนกับการชาร์จแบต ซึ่งพอความกังวลคลี่คลายไป เราก็จะค่อยๆ กลับมามีไฟ แล้วถามตัวเองใหม่อีกครั้งว่า จะยังคงเดินต่อไปบนเส้นทางของการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพร่างกายตัวเองอีกหรือเปล่า

4. บันทึกเรื่องราวดีๆ ขอบคุณสิ่งดีๆ ที่มีในชีวิต

มีผลการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจนว่า การบันทึกเรื่องราวดีๆ ของตัวเอง การขอบคุณสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตในแต่ละวัน ไม่เพียงช่วยให้เรากลายเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยตรง ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับสนิทขึ้น ทำให้อารมณ์ดีมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่ทำให้เรามีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น และมีไฟที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในการใช้ชีวิตมากขึ้น ดังนั้น อย่ามัวแต่จมอยู่กับความเครียด เศร้า ผิดหวัง แต่เมื่อเห็นอะไรบางสิ่งที่ดีเกิดขึ้นในชีวิต ก็ควรจดจำ บันทึก และขอบคุณในทันที เพราะการกระทำเหล่านี้ จะช่วยดึงเราออกมาจากความคิดลบ และทำให้ในแต่ละวันเราพบว่า ชีวิตเราไม่ได้มีแต่มุมแย่ๆ แต่มีเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นเสมอรอบตัว

ไม่มีใครไม่เคยผ่านช่วงเวลาท้อแท้หมดไฟ และคนที่จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้น ก็ล้วนต้องก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปให้ได้เท่านั้น ความเครียด ความเศร้า ความผิดหวัง จากความพยายาม ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น อย่าโฟกัสว่าเป็นเพราะเราไม่เก่ง เราจึงต้องเจอเรื่องแบบนี้ แต่ควรมองว่าเป็นสิ่งที่เราสามารถก้าวผ่านได้ และเป็นทางผ่านไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการ โดยหากรู้สึกแย่จนทนไม่ไหว ก็แค่หยุดพัก เพื่อให้เวลากับร่างกายและจิตใจตัวเอง ให้เราได้ผ่อนคลายและทบทวนดูว่าอะไรกันแน่คือสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดี แล้วค่อยๆ แก้ไขไปทีละนิด เพื่อดึงชีวิตกลับมาสู่เส้นทางที่เป็นเป้าหมายตามเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า