ไข้หวัดใหญ่ ชื่อโรคดูไม่ร้ายเท่าไร แต่มีภัยถึงชีวิต

ไข้หวัดใหญ่ ชื่อโรคดูไม่ร้ายเท่าไร แต่มีภัยถึงชีวิต

“ไข้หวัด” ถือเป็นหนึ่งในโรคสามัญประจำบ้านที่เราต่างก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และรู้สึกว่าแทบจะไม่ได้มีความร้ายแรงใด ๆ สักเท่าไร หรือแม้กระทั่งกับ “โรคไข้หวัดใหญ่” ที่ถึงจะรุนแรงกว่า แต่ด้วยความที่คำว่า “ไข้หวัด” เป็นอะไรที่ไม่ได้ดูอันตรายในการรับรู้ของผู้คนแล้ว ก็เลยพาให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ตระหนักถึงพิษภัยของ ไข้หวัดใหญ่ มากเท่าที่ควร จนกลายเป็นเหตุให้ในแต่ละปีบ้านเรามีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่กว่า 1 แสนราย และพบผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ทุกปี

ดังนั้น เพื่อให้ชีวิตเราและคนที่รักปลอดภัยจากโรคไข้หวัดใหญ่มากยิ่งขึ้น จึงเป็นการดีไม่น้อยเลย ที่เราจะทำความรู้จักกับไข้หวัดใหญ่เอาไว้บ้าง ว่ามีกี่สายพันธุ์ และแต่ละสายพันธุ์ อันตราย รุนแรงแค่ไหน มีวิธีการป้องกันตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคที่ชื่อธรรมดา ๆ แต่ไม่ธรรมดานี้ให้ได้มากที่สุด

ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร สายพันธุ์ไหนน่ากลัวที่สุด

ไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza หรือที่ในทางการแพทย์เราจะเรียกสั้น ๆ ว่า “ฟลู” นั้น คือ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยมีสาเหตุมาจาก “เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่” จนทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วย มีไข้สูง ปวดหัว ตัวร้อน ไอจาม มีน้ำมูก และปวดเมื่อยตามตัว โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่ปัจจุบันถือได้ว่า “ร้ายกาจที่สุด” ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในสังคมเรามากที่สุดนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่

1.ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ฟลู A” ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีความอันตรายมากที่สุด เพราะสามารถกลายพันธุ์ได้ โดยติดจากสัตว์สู่สัตว์ได้ และติดจากสัตว์มาสู่คน ตลอดจนแพร่ระบาดเป็นวงกว้างได้ ทำให้เชื้อมีความเป็นลูกผสม และมีฤทธิ์รุนแรง ทั้งนี้ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มักจะแพร่ระบาดตามฤดูกาล และสามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ย่อยที่พบบ่อย คือ H1N1 และ H3N2

2.ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ฟลู B” ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีความอันตรายรุนแรงเช่นกัน แต่ไม่เท่ากับสายพันธุ์ A เนื่องจากติดต่อกันได้แค่เฉพาะจากคนสู่คน ไม่ได้มีการเกิดขึ้นในสัตว์ และกลายพันธุ์ไม่ได้ จึงทำให้ตัวเชื้อมีความซับซ้อนน้อยกว่า รุนแรงน้อยกว่า ทั้งนี้ ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ย่อยที่พบบ่อย คือ B Victoria และ B Yamagata

ไข้หวัดใหญ่อันตรายแค่ไหน สังเกตอาการอย่างไรให้รู้เท่าทัน?

อาการของไข้หวัดใหญ่นั้น โดยทั่วไปก็จะไม่ต่างจากไข้หวัดสักเท่าไร หากแต่มีอาการที่รุนแรงกว่า โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าที่เราเป็นอยู่นั้นไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา แต่เป็นไข้หวัดใหญ่ก็ได้แก่

  • มีไข้สูงมากกว่าปกติ คือตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • มีอาการปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย
  • มีน้ำมูกไหล คัดจมูก เจ็บคอ มีอาการไอ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามร่างกาย แขน ขา ตามตัว
  • เป็นติดต่อกันนาน เกิน 1-2 สัปดาห์ ไม่หายไปเองเหมือนไข้หวัดธรรมดา

นอกจากอาการดังที่กล่าวไปแล้ว ความอันตรายของไข้หวัดใหญ่ คือ อาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งที่พบบ่อยมากที่สุดเลยก็คือ “ภาวะปอดบวม” ส่วนผลกระทบอื่น ๆ ที่รุนแรงเมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ก็เช่น หัวใจและหลอดเลือดทำงานผิดปกติ หลอดลมอักเสบ ไตทำงานผิดปกติ เป็นต้น ดังนั้น หากสังเกตพบอาการไข้หวัดที่รุนแรงกว่าปกติ อย่าชะล่าใจว่าเป็นแค่หวัดธรรมดา แต่ควรรีบพบแพทย์ดีกว่า จะได้รักษาได้ทันท่วงที

ใครบ้างที่เสี่ยงภัย มีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั้ง 2 สายพันธุ์?

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่นั้น สามารถแพร่ระบาดติดต่อกันได้ผ่านการไอ จาม พูดคุย แล้วสูดเอาละอองที่มีเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น จึงทำให้ “ทุกคน” มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ทั้งหมด ซึ่งโอกาสจะติดเชื้อได้ง่าย มากหรือน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่ความ 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ ความรุนแรงและปริมาณของเชื้อ และสภาพร่างกายของเรา คือถ้าร่างกายเราไม่แข็งแรงแล้ว ต่อให้เชื้อไม่ดุมีปริมาณน้อย เราก็อาจติดเชื้อและเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ในที่สุด ทั้งนี้ กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงภัยในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มากที่สุด และมีโอกาสเกิดภาวะรุนแรงแทรกซ้อนมากที่สุด ได้แก่

  • เด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี
  • ผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่ปอดไม่แข็งแรง เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว
  • ผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว ต้องทานยาอยู่เสมอ

ป้องกันดูแลตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์

การดูแลและป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่นั้น สามารถทำได้ในแนวทางเดียวกันกับโรคระบบทางเดินหายใจทุกชนิด คือ

  • ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร
  • ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกันกับผู้อื่น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  • ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอจาม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปยังสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน อาทิ ห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้า และโรงภาพยนตร์ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส เบิกบาน ไม่เครียด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยช่วยลดโอกาสป่วยได้ ลดความรุนแรงของโรคได้ ลดภาวะแทรกซ้อนได้ ลดโอกาสในการเสียชีวิตได้ ตลอดจนช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้มากกว่า

ไข้หวัดใหญ่ดูเหมือนจะเป็นโรคธรรดา ๆ ที่ใคร ๆ ก็คุ้นเคย และรู้สึกว่าไม่น่ากลัวเท่าไร แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น มีความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในคนที่สุขภาพไม่แข็งแรง และในเด็กเล็ก

ดังนั้น การไม่ประมาทกับคำว่า “ไข้หวัด” ไม่เห็นเป็นแค่โรคธรรมดา เล็กน้อย จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนพึงมี และทางที่ดีที่สุด ก็คือ ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเอาไว้ จะได้ช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรงตลอดปี ไม่เจอไข้หวัดใหญ่รบกวน และทำให้ต้องเสียสุขภาพกาย สุขภาพใจ เสียค่ารักษาพยาบาล และเสียโอกาสในการทำงานในการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

บทความที่เกี่ยวข้อง
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า