ตรวจวินิจฉัยอย่างไร ถึงทราบว่าหัวใจผิดปกติ

ตรวจวินิจฉัยอย่างไร ถึงทราบว่าหัวใจผิดปกติ

หัวใจ ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกายคนเรา ที่แม้จะมีเพียงแค่หนึ่งเดียว และมีขนาดประมาณกำปั้นของเจ้าของ แต่ทว่าการทำงานภายในนั้นกลับมีความซับซ้อนที่จำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการตรวจสอบ เพื่อให้ทราบว่า “มีความผิดปกติตรงจุดใดกันแน่” จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ตรงจุด และได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด

ทั้งนี้ เนื่องจากความผิดปกติของ หัวใจ นั้นมีความหลากหลาย จึงทำให้การตรวจวินิจฉัยนั้นมีหลายรูปแบบตามไปด้วย แต่โดยเบื้องต้นนั้น แนวทางในการตรวจหัวใจพื้นฐานหลัก ๆ อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคเฉพาะทางหัวใจนั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ทางการแพทย์เรียกกันแบบย่อว่า “EKG หรือ ECG” (Elektrokardiogram / Electrocardiogram) หมายถึงการทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจในแต่ละจังหวะการเต้น ถือเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นที่ทำง่ายที่สุด และสามารถบอกข้อมูลได้ว่า การเต้นของหัวใจเราผิดปกติหรือไม่? แกนไฟฟ้าหัวใจของเราแข็งแรงดีหรือไม่? หัวใจมีอาการโตกว่าปกติหรือไม่? ตลอดจนบอกได้ด้วยว่าหัวใจของเรามีลักษณะของการขาดเลือดหรือไม่? ฯลฯ

2.การตรวจ CT Calcium Score

เป็นการตรวจหา “หินปูน” ที่หัวใจ ซึ่งอาจเกาะอยู่ได้ตามบริเวณต่าง ๆ ของหัวใจคนเรา ไม่ว่าจะเป็น ผนังหลอดเลือดหัวใจ เยื้อหุ้มหัวใจ หรือว่าลิ้นหัวใจ โดยหินปูนดังกล่าวนี้ คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ซึ่งในการตรวจ CT Calcium Score นั้น จะทำได้โดยการใช้เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจไปยังบริเวณหลอดเลือดหัวใจของคนไข้ โดยผลตรวจจะออกมาเป็นค่าตัวเลข ตั้งแต่ 0 และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งยิ่งผลตรวจออกมามีค่าตัวเลขมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือดมากเท่านั้น

3.การอัลตร้าซาวด์หัวใจ

ทางการแพทย์เรียกกันแบบย่อว่า “การทำเอคโค” ซึ่งย่อมาจากคำว่า Echocardiogram เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อใช้ตรวจสอบโครงสร้างของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยสามารถใช้ตรวจสอบได้ตั้งแต่ความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ตลอดจนสามารถใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำบริเวณรอบ ๆ หัวใจได้ด้วย

4.การเดินสายพาน

ทางการแพทย์เรียกกันแบบย่อว่า “การทำ EST” หรือ Exercise Stress Test เป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจ ในกรณีที่คนไข้ยังไม่ได้แสดงอาการชัดเจนมากนัก แต่แพทย์สงสัยว่าอาจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือมีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ที่สัมพันธ์กับการออกกำลัง ซึ่งแพทย์ก็จะทำการตรวจโดยให้คนไข้ออกกำลังด้วยการเดินสายพาน หรือปั่นจักรยาน เพื่อดูการทำงานของหัวใจ และหาข้อบ่งชี้ถึงอาการผิดปกติ เพื่อวินิจฉัยและทำการวางแผนการรักษาให้ถูกต้องเหมาะสม

ในการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางหัวใจนั้น แพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติ สอบถามอาการ และตรวจร่างกายพื้นฐาน ก่อนจะเลือกใช้วิธีการตรวจทางหัวใจพื้นฐาน 4 รูปแบบข้างต้น ในการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของหัวใจ หลังจากนั้นก็จะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และเข้าสู่การตรวจละเอียดเชิงลึกไปตามสาเหตุของความผิดปกติที่ตรวจพบ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

ทั้งนี้ เนื่องจากโรคทางหัวใจนั้นมีความหลากหลาย และทุกความผิดปกติล้วนมีความรุนแรง เป็นอันตรายถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ และการหมั่นสังเกตอาการความผิดปกติตัวเองอยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันเราจากภัยร้ายของความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้ดีที่สุด โดยอาการสำคัญที่เกี่ยวกับโรคหัวใจที่ต้องตระหนักไว้ให้ดี ก็ได้แก่ หายใจหอบเหนื่อยง่าย แน่น เจ็บหน้าอก เฉียบพลัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า