สังเกตอย่างไร ถึงจะแน่ใจว่าเป็นเส้นเลือดขอด

สังเกตอย่างไร ถึงจะแน่ใจว่าเป็นเส้นเลือดขอด?

เส้นเลือดขอด คือโรคที่เกิดจากการที่ระบบส่งเลือดดำเข้าสู่หัวใจเสื่อมสภาพ ตามอายุของแต่ละคน ประกอบกับพฤติกรรมการใช้งานขาที่มากกว่าปกติ ยืนมาก ทำงานมาก และมีน้ำหนักตัวมาก

ซึ่งจะทำให้เลือดไหลย้อนลงมาด้านล่าง ส่งผลให้เส้นเลือดส่วนผิวบริเวณเส้นเลือดส่วนปลายขยายใหญ่ขึ้น และปรากฏเห็นเป็นรอยคดเคี้ยวของเส้นเลือดดำบริเวณผิวหนัง ซึ่งเราเรียกลักษณะอาการนี้ว่า เส้นเลือดขอด

อาการสังเกตก่อนเกิดรอย ดีกว่ารอคอยให้เป็นหนัก

อาการ เส้นเลือดขอด ที่เราเห็นกันเป็นรอยคดเคี้ยวของเส้นเลือดดำบริเวณผิวหนังนั้น คืออาการแสดงที่อยู่ในระยะลุกลามของโรคแล้ว ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาการก็จะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ คือ ก้าวไปสู่ขั้นที่ผิวหนังบริเวณขาเปลี่ยนไปจากนิ่ม เป็นแข็งกระด้าง จากที่เป็นสีผิวหนังปกติ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ และเกิดปะทุเป็นแผลเรื้อรังได้

ทั้งนี้ สำหรับอาการสังเกตในช่วงเริ่มต้นว่าเราเสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอดหรือไม่นั้น สามารถพิจารณาได้จาก อาการปวดเมื่อย เป็นตะคริว และอาการปวดตึงน่องบ่อย ๆ โดยหากพบว่าเมื่อยืนนานๆ แล้วมีอาการดังกล่าว ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นเส้นเลือดขอดแล้ว หรือยิ่งหากมีการสังเกตว่าผิวหนังบริเวณน่อง และแถว ๆ ข้อเท้ามีสีเข้มขึ้นเปลี่ยนไปจากปกติ และมีอาการบวมร่วมด้วยเวลายืนนาน ๆ ก็ยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่อาจบ่งบอกได้ว่าเราเป็นโรคเส้นเลือดขอด

อาการเส้นเลือดขอด 6 ระดับ ขยับจากเบาสู่หนักจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต

แม้เส้นเลือดขอดจะเป็นโรคที่ไม่ได้มีความอันตรายรุนแรงเท่าไร แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ในความรับรู้ทั่วไปของคนส่วนใหญ่เท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว หากเราปล่อยให้เส้นเลือดขอดดำเนินโรคไปเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลต่อการทำลายคุณภาพชีวิต และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่นำไปสู่อันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ทั้งนี้ อาการของเส้นเลือดขอดนั้น สามารถแบ่งความรุนแรงออกได้เป็น 6 ระดับ ดังนี้

  1. คนไข้ยังไม่ปรากฏมีเส้นเลือดขอดให้เห็น มีเพียงแค่อาการรู้สึกหนัก ๆ ขา
  2. เกิดเป็นเส้นเลือดขอดเล็ก ๆ เป็นร่างแหให้เห็นเป็นรอยบริเวณขา
  3. เส้นเลือดขอดมีขนาดใหญ่ขึ้น เห็นเป็นรอยคดเคี้ยวปูดโปน
  4. มีอาการขาบวม ตึง ปวดเมื่อย
  5. ขามีอาการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อาทิ ผิวหนังหนามากขึ้น สีผิวหนังที่ขาเปลี่ยนไปเป็นสีเข้ม
  6. เกิดมีแผลปะทุขึ้นที่ขา มีเปลี่ยนแปลงจากเดิมคือ จากขาเล็ก ๆ จะบวมขยายใหญ่ขึ้น โดยใหญ่ขึ้นเป็นเท่าหนึ่งจากขาเดิม ผิวหนังจะนิ่มเปลี่ยนเป็นแข็งเหมือนไม้กระดาน

รักษาเร็วก็หายไว แต่ถ้าปล่อยไว้จะยิ่งอันตราย

นายแพทย์พงษ์ตะวัน กัลยพฤกษ์ ศัลยแพทย์ทั่วไปและศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด โรงพยาบาลพญาไท 3 ได้กล่าวถึงสถิติของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดขอดในปัจจุบันไว้ว่า “โดยภาพรวมประชากรจริง ๆ แล้ว คนเป็นโรคเส้นเลือดขอดกันเยอะ คือ ประมาณ 10-20% เลยด้วยซ้ำ แต่เริ่มแรก ๆ ถ้าไม่ได้ปรากฏรอยให้เห็นเป็นเส้นเลือดขอดที่คดเคี้ยวให้เห็น คนไข้ก็จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเส้นเลือดขอด เพียงแค่รู้สึกปวดบวมตึง ๆ ขา เท่านั้น  ซึ่งจริง ๆ ก็คือเริ่มเป็นแล้วล่ะ

โดยถ้าเป็นแบบนี้ การรีบไปพบแพทย์ แล้วใช้ถุงเท้าสวมรักษาเส้นเลือดขอดตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น จนเกิดเป็นอาการรุนแรงและนำไปสู่ระยะท้าย ๆ ของโรคที่อาจเกิดภาวะลิ่มเลือดหลุดลอยไปติดค้างจนเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้”

 

เส้นเลือดขอดรักษาหายได้ไว

แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจโชคร้าย

เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต!!”

บทความที่เกี่ยวข้อง
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า