การทำบอลลูนใส่ขดลวดหัวใจ

การทำบอลลูนใส่ขดลวดหัวใจ “ตอบโจทย์” หรือ “เสี่ยงภัย” มากกว่ากัน?

โดยปกติแล้วสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบนั้น เราจะไม่สามารถรู้ได้อย่างชัดเจนว่า “ความตีบ” นั้น มากหรือน้อยเพียงใด และจะเป็นประโยชน์จริง ๆ หรือไม่ที่จะแก้ไข เพราะหากเส้นเลือดตีบมาก แน่นอนว่าการทำการแก้ไขก็ย่อมได้ประโยชน์

แต่ถ้าเส้นเลือดตีบน้อย อาจกลายเป็นไปได้ว่า การรักษาด้วยการผ่าตัดหรือการใส่ขดลวดหัวใจนั้น อาจเป็นการทำให้คนไข้เสี่ยงมากกว่า เป็นการได้ที่ไม่คุ้มเสีย ทั้งนี้ ปัจจุบันเราสามารถหาคำตอบที่แน่ชัดได้ว่า ควรจะทำการรักษาด้วยการใส่ขดลวดหัวใจหรือไม่ ได้ด้วยหัตถการที่มีชื่อว่า “FFR”

FFR คืออะไร ทำไมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจถึงควรรู้จัก?

FFRหรือ “Fractional Flow Reserve” คือ หัตถการทางการแพทย์ที่ทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ “ความเป็นไปในการตีบของหลอดเลือดหัวใจ” โดยเป็นการวัดความดัน เพื่อเปรียบเทียบความดันในเส้นเลือดหัวใจ กับ ความดันหลักในหลอดเลือดใหญ่ เพื่อคำนวณหาว่า “หลอดเลือดหัวใจตีบมากหรือน้อยแค่ไหน?” ตีบมากพอที่สมควรจะทำการรักษาด้วยการทำบอลลูนใส่ขดลวดหัวใจหรือไม่

เพราะเวลาทำการรักษาด้วยการทำบอลลูนใส่ขดลวดหัวใจนั้น แพทย์จะต้องใส่ขดลวดเอาไว้ให้อยู่ในร่างกายของเราตลอดไป ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมที่แน่นอนว่า นานวันไปก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพิสูจน์ให้ได้แน่ชัดว่า การทำบอลลูนใส่ขดลวดหัวใจนั้นคุ้มค่ามากกว่าจะเป็นการรักษาที่เสี่ยงเกินความจำเป็น ซึ่งFFR สามารถให้คำตอบกับเราได้อย่างชัดเจนที่สุด

FFR มีกระบวนการในการทำอย่างไร?

ในการทำFFR นั้น จะมีเครื่องมือที่ต่อเข้ากันกับสายลวดเล็ก ๆ ที่ไว้สำหรับใส่เข้าไปสู่หลอดเลือดหัวใจ ซึ่งในสายลวดเล็ก ๆ นั้นก็จะมีตัว Sensor ที่เอาไว้รับความแตกต่างของความดันในเลือดติดอยู่ โดย ณ ตำแหน่งต่าง ๆ กันภายในหลอดเลือดหัวใจ ก็จะมีค่าความดันที่แตกต่างกันไป ซึ่งค่าความดันที่ว่านี้ จะถูกนำมาคำนวณเป็น ค่าFFR” ซึ่งจะมีเกณฑ์กำหนดไว้อย่างเป็นมาตรฐานว่า ค่าเท่าไร เหมาะกับการทำบอลลูนใส่ขดลวด และค่าเท่าไรไม่ควรทำ แต่ควรให้การรักษาด้วยการใช้ยาแทน ทั้งนี้ ค่าFFR ได้รับการทดลองและวิจัยจากหลายประเทศทั่วโลกแล้วว่า เป็นค่ามาตรฐานที่ทำแล้ว สามารถช่วยลดอัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ และลดการต้องทำบอลลูนแบบเฉียบพลันได้

ในทางการแพทย์นั้น การทำFFR นับได้ว่าเป็นการทำให้แพทย์ทราบถึงความรุนแรงของการตีบของหลอดเลือดได้อย่างขัดเจนมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันสำหรับผู้ป่วยเอง ค่าFFR ที่คำนวณออกมาได้ ก็จะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงกระบวนการรักษาที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีว่า ควรจะตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการทำบอลลูนใส่ขดลวดหัวใจดีหรือไม่ คุ้มค่ามากแค่ไหน นั่นเอง

 

FFRคือการตรวจหาค่าความตีบของหลอดเลือดหัวใจ

ที่ทำให้ได้คำตอบที่แน่ชัดว่า คุ้มค่าหรือไม่กับการทำการรักษา

ด้วยการทำบอลลูนใส่ขดลวดเอาไว้ในร่างกาย

 

นายแพทย์สมบูรณ์ 

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ

โรงพยาบาลพญาไท 3

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า