โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

จู่ ๆ ก็ใจสั่น อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หากพูดถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจแล้ว หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกว่าเป็นโรคร้ายที่มักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่หรือค่อนข้างเกิดได้ในผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคร้ายแรงที่เกี่ยวกับหัวใจบางโรค ก็สามารถเกิดได้กับเด็ก ๆ หรือวัยรุ่น วัยทำงานได้เหมือนกัน

อย่างเช่น โรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะ ที่เป็นอันตรายสามารถถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้นั้น ถือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจที่ “ทุกคน” มีความเสี่ยง สามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไป จึงเป็นโรคที่เราควรทำความรู้จัก และทำความเข้าใจเอาไว้ เพื่อให้สังเกตอาการได้ทัน และเข้ารับการรักษาได้เร็ว

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะคืออะไร ทำความรู้จักไว้ ให้รู้เท่าทัน

โรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ โรคหัวใจ ห้องบนเต้นผิดจังหวะ  โรคหัวใจ ห้องล่างเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ เกิดจากความผิดปกติของตัวนำไฟฟ้าที่บริเวณห้องหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นในจังหวะที่ไม่ปกติ โดยจะเต้นเร็วขึ้นกว่าเดิม เต้นเร็วกว่าที่ควรจะเป็น โดยไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมใด ๆ กล่าวคือ โดยปกติเวลาเราออกกำลังกาย หัวใจจะค่อย ๆ เต้นจากช้าไปเร็ว แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น แม้ว่าคนไข้จะนั่งอยู่เฉย ๆ หัวใจก็สามารถเต้นเร็วขึ้นมาได้มากถึง 150 ครั้งต่อนาทีได้

สังเกตอาการแสดงอย่างไร ว่าเสี่ยงภัยเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ?

อาการแสดงหลัก ๆ ที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเราอาจป่วยเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น ได้แก่

  • ใจสั่น บางรายมีอาการคล้ายกับจะหน้ามืดในช่วงเวลาที่ใจสั่น
  • ใจสะดุด รู้สึกถึงจังหวะการเต้นของหัวใจที่สะดุด และอาจมีอาการวูบหมดสติร่วมด้วย

ทั้งนี้ อาการใจสั่น ใจสะดุด หน้ามืด วูบหมดสติ เหล่านี้ จะเป็นโดยที่ไม่สัมพันธ์กับการออกแรงใด ๆ ทั้งสิ้น คือเป็นในขณะที่นั่งพัก หรือนอนพักอยู่เฉย ๆ หรือหลังจากออกกำลังกายแล้ว นั่งพักไปประมาณ 5 ถึง 10 นาทีแล้ว แต่หัวใจยังคงเต้นรัวอยู่ตลอด อาการแบบนี้มีลักษณะของความเสี่ยงที่อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ หากสังเกตพบควรรีบมาปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

ตรวจวินิจฉัยอย่างไร ถึงจะทราบว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ?

เบื้องต้นเมื่อคนไข้มาพบแพทย์ด้วยอาการใจสั่น ใจสะดุด หน้ามืด แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย แล้วดำเนินการทำ “Electrophysiology Study” หรือ “การตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจ” ซึ่งเป็นหัตถการที่ใช้สำหรับตรวจความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในหัวใจ ว่ามีความผิดปกติตรงจุดไหน เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจชนิดใด ซึ่งโดยปกติหากตรวจพบแล้วว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใดแล้ว แพทย์ก็จะสามารถทำการรักษาด้วยวิธีการจี้ไฟฟ้าหัวใจไปด้วยพร้อมกันได้เลย

Electrophysiology Study มีวิธีการทำอย่างไร?

ในการตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจ เพื่อหาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจนั้น มีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

  1. จัดคนไข้ให้นอนบนเตียงในห้องปฏิบัติการ ในท่าพร้อมทำหัตการสำหรับตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจ
  2. วิสัญญีแพทย์ดำเนินการให้ยาสลบแก่ผู้ป่วย
  3. แพทย์ทำการใส่สายสวนผ่านทางบริเวณขาหนีบของคนไข้ พร้อมกับติดอุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 3 สาย เพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่หลอดเลือดดำที่วิ่งตรงสู่หัวใจ
  4. เมื่อใส่สายสวนแล้ว แพทย์จะทำการใช้รังสี เพื่อฉายให้เห็นโครงสร้างของหัวใจว่าจุดไหนผิดปกติ สำหรับใส่สายสวนได้ถูกต้องตามตำแหน่งที่ต้องการ
  5. เมื่อพบตำแหน่งที่ผิดปกติแล้ว แพทย์จึงทำการรักษาความผิดปกตินั้นด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ

โดยภาพรวมของ Electrophysiology Study นั้น สามารถกล่าวได้ว่า เป็นการตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจ ร่วมกับการรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งก่อนที่จะทำการรักษาด้วยวิธีการ “จี้ไฟฟ้าหัวใจ” ได้นั้น จะต้องทำการตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจให้ทราบแน่ชัดก่อนว่า “ตำแหน่งใด?” คือตำแหน่งที่ต้องทำการจี้รักษาเพื่อให้คนไข้หายขายจากโรคและกลับมามีหัวใจที่เต้นในจังหวะปกติได้อีกครั้ง

การตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจโดยไม่ใช้รังสี ทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับร่างกาย

ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ประกอบกับความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลพญาไท 3 ทำให้สามารถทำ “การตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจ” ได้โดยที่ไม่ใช้รังสี ซึ่งแพทย์จะใช้เทคโนโลยี 3D ในการทำให้เห็นภาพโครงสร้างของหัวใจว่าตำแหน่งใดที่ผิดปกติแทนการใช้รังสี และเมื่อทราบแล้วว่าตำแหน่งความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่ที่ใด ก็จะทำการรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจต่อไปตามลำดับ

ทั้งนี้ การตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจโดยไม่ใช้รังสี ก่อนทำการจี้ไฟฟ้าหัวใจเพื่อรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น ถือเป็นการรักษาทางเลือกที่ทำให้คนไข้ไม่ได้รับความเสี่ยงจากการใช้รังสีในการร่วมรักษา ซึ่งในการใช้รังสีนั้น อาจทำให้มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ อาทิ ตำแหน่งของผิวอวัยวะที่โดนรังสี จะมีโอกาสเกิดการอักเสบได้ ยิ่งโดนมากก็ยิ่งมีโอกาสอักเสบมาก โดยตำแหน่งที่อันตราย ได้แก่ ไทรอยด์ และตำแหน่งของต่อมไร้ท่อต่าง ๆ อย่าง รังไข่และอัณฑะ ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดเป็นเนื้องอก หรือเนื้องอกร้ายแรงอย่างมะเร็งตามมาได้ภายหลังนั่นเอง

ซึ่งถึงแม้รังสีที่ใช้ในการทำ Electrophysiology Study นั้น จริงๆ แล้วจะไม่ได้ใช้ในปริมาณที่สูงมากเท่ากับการรักษาหลอดเลือดหัวใจ แต่ หากเราสามารถเลือกได้ว่าไม่ต้องโดนรังสีเลย ก็ถือเป็นทางเลือกที่มีความปลอดภัยมากกว่า

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และบางชนิดก็เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด อีกทั้งโดยทั่วไปแล้วจะตรวจวินิจฉัยค่อนข้างยาก เพราะอาการจะเป็นๆ หายๆ บ่อยครั้งที่ไปพบแพทย์แต่อาการก็หายไปแล้ว จึงถือเป็นโรคเงียบ ที่เราต้องหมั่นสังเกตอาการตัวเองให้ดี และอย่ามองข้ามการตรวจสุขภาพเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันโรค และเข้ารับการรักษาได้ทันเมื่อพบความผิดปกติ

จู่ๆ หัวใจก็เต้นแรง เร็ว โดยไม่ได้ออกแรงอะไร

พึงตระหนักให้รู้ไว้ ว่าเราอาจกำลังเสี่ยงภัย

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

นพ.สุวิทย์ คลังเปรมจิตต์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำคลินิกโรคหัวใจ 

โรงพยาบาลพญาไท 3

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า