ผนังกั้นจมูกคด คัดจมูก

คัดจมูก น้ำมูกไหล อาจไม่ใช่หวัดธรรมดา แต่เป็นไปได้ว่าผนังกั้นจมูกคด!

อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ถือเป็นอาการป่วยที่คนส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าไม่ได้รุนแรงอะไร และเป็นอาการของไข้หวัดธรรมดา ที่ปล่อยไว้ก็หายไปเองได้ หรือไม่ก็แค่ทานยานิดหน่อยก็หาย แต่ทั้งนี้ รู้หรือไม่ว่า บางทีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลนั้น ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่มีความอันตรายและรุนแรงกว่าหวัดได้เช่นกัน

หนึ่งในนั้นคือ โรคผนังกั้นจมูกคด โรคที่หลาย ๆ คนอาจไม่รู้จัก แต่เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณภาพชีวิตของเราแย่ลงได้ รวมไปถึงอาจเป็นสาเหตุของการนอนกรนได้ด้วย

ผนังกั้นจมูกคดคืออะไร ใครมีโอกาสเป็นได้บ้าง?

โรคผนังกั้นจมูกคด ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเจริญเติบโตของจมูกที่ผิดปกติ จนทำให้กระดูกอ่อนบริเวณส่วนด้านหน้าของจมูกนั้นยาวเกินไป ส่งผลให้เกิดการคดงอ หรือบิดเบี้ยวไปด้านใดด้านหนึ่ง จนไปกดเบียดตัวช่องว่างของจมูกข้างใดข้างหนึ่ง หรือในอีกกรณีหนึ่งก็คือ เกิดจากอุบัติเหตุจมูกหัก ทำให้กระดูกอ่อนงอแล้วผิดรูปไปได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว โรคผนังกั้นจมูกคด นี้ในรายที่เป็นมาก ๆ ตัวแกนจมูกจะบิดเบี้ยวจนสามารถมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า แต่สำหรับรายที่เป็นน้อย ก็อาจสังเกตเห็นไม่ได้ชัดนัก หรือมองไม่ออกว่าจมูกมีอาการผิดปกติ

ทั้งนี้ โรคผนังกั้นจมูกคดนั้นมักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่มีจมูกโด่ง เนื่องจากคนที่มีจมูกโด่ง บริเวณกระดูกอ่อนด้านหน้าจมูกจะยาวและมีโอกาสคดได้มากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ลูกครึ่ง จะพบว่าเป็นโรคผนังกั้นจมูกคดได้มากเป็นพิเศษ

สังเกตอาการอย่างไร มีโอกาสใช่ เป็นโรคผนังกั้นจมูกคด?

โดยส่วนใหญ่แล้วคนไข้จะไม่ทราบเลยว่าตัวเองเป็นผนังกั้นจมูกคดหากไม่ได้เป็นมากจนมองเห็นว่าแกนจมูกบิดเบี้ยวผิดรูป ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะมาด้วยความรู้สึกแน่นจมูก บางคนมีอาการน้ำมูกไหล หายใจไม่ออก หรือบางคนก็อาจมาด้วยอาการนอนกรน มีเสียงฟุดฟิดที่จมูกตลอดเวลา แต่ทั้งนี้แพทย์ก็ต้องทำการวินิจฉัยดูก่อนว่าเป็นสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ เพื่อทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ อาการของโรคผนังกั้นจมูกคดที่เราควรตั้งไว้เป็นข้อสังเกต ได้แก่

  • คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจไม่ออก
  • มีอาการปวดในรายที่ส่วนที่คดไปชนกับเยื่อบุโพรงจมูก
  • ในรายที่ผนังกั้นจมูกคดไม่มาก จะมีอาการคัดจมูกเป็นช่วง ๆ ไม่ได้คัดตลอดเวลา และตรงกันข้ามกับในรายที่คดมาก ก็อาจทำให้คัดจมูกบ่อย ตลอดเวลาและอาจมีอาการปวดร่วมด้วย

วินิจฉัยอย่างไร ถึงแน่ใจว่าผนังกั้นจมูกคด?

โดยปกติแล้วจะสามารถวินิจฉัยได้ทโดยการตรวจร่างกาย ตรวจสอบรอยต่อของกระดูกอ่อนกับกระดูกบริเวณจมูก ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แพทย์จึงจะใช้กล้องเฉพาะพิเศษ ซึ่งเป็นกล้องที่ใช่สำหรับส่องดูโพรงจมูกแล้วก็ไซนัส เรียกว่า “ไซนูสโคป” (Sinuscope)  ซึ่งเมื่อส่องแล้วก็จะทำให้ทราบได้ว่าอาการคัดจมูกนั้น เกิดจากสาเหตุอะไร ใช่หรือไม่ใช่เป็นเพราะผนังกั้นจมูกคดกันแน่

ขั้นตอนในการรักษา เมื่อพบว่าผนังกั้นจมูกคด

สำหรับในคนไข้รายที่ผนังกั้นจมูกคดเพียงเล็กน้อย แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการให้ยา เพื่อควบคุมบรรเทาอาการคัดจมูก ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติและมีความสุขมากขึ้น โดยหากมีอาการคัดจมูกไม่มาก แพทย์จะมีสเปรย์สำหรับพ่นจมูก ซึ่งเป็นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ให้ หรือในรายที่มีอาการปวด แพทย์ก็จะพิจารณาให้ยาบรรเทาอาการปวด ให้ยาเพื่อลดอาการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก เพื่อให้คนไข้ไม่ปวด ไม่คัดจมูก กล่าวคือ เป็นการรักษาตามอาการ ไม่ได้รักษาอาการคดของผนังจมูกให้หายไป

สำหรับในคนไข้รายที่ผนังกันจมูกคดมาก แพทย์ก็อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งก็จะเป็นการรักษาด้วยเทคนิคการผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยแผลจะอยู่ด้านในจมูก ทำให้ไม่ปรากฏแผลเป็นด้านนอก โดยระยะเวลาในการผ่าตัดนั้นจะขึ้นอยู่กับความคดของผนังกั้นจมูกว่าคดมากหรือน้อยเพียงใด รวมถึงตำแหน่งที่คดด้วยว่าอยู่ในจุดที่ง่ายต่อการผ่าตัดมากแค่ไหน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ในการผ่าตัดผนังกั้นจมูกคด แพทย์สามารถที่จะเชื่อมการรักษาเข้ากับการทำศัลยกรรมตกแต่งจมูกไปพร้อมกันได้ในคราวเดียวด้วย โดยสามารถนำเอากระดูกอ่อนที่ตัดทิ้งไป มาเสริมบริเวณส่วนปลายจมูกให้เชิดขึ้น โด่งขึ้น หรือมีรูปลักษณะที่ดีขึ้นได้ตามที่คนไข้ต้องการ และตามความเหมาะสมซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ปลอดภัยหลังผ่าตัดผนังกั้นจมูกคด?

หลังจากการผ่าตัดผนังกั้นจมูกคดแล้ว แม้จะเป็นการผ่าตัดเล็ก แต่ก็ควรอยู่ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 คืน เพื่อเฝ้าดูอาการภาวะเลือดออก เลือดกำเดาไหล ซึ่งโดยปกติแพทย์จะมีวัสดุสำหรับใส่เพื่อห้ามเลือดไว้ให้ แต่บางรายหากมีอาการเลือดออกมาก ก็ต้องทำการเฝ้าระวังและคอยดูแลเพื่อไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน

ทั้งนี้ หลังจากผ่าตัดแล้ว คนไข้อาจมีอาการปวดเมื่อหายใจ หรือมีเลือด หรือน้ำมูกไหลออกมาได้เป็นปกติ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์กว่าจะกลับเป็นปกติ ซึ่งผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดผนังกั้นจมูกคดได้ โดย

  • ทำความสะอาดแผลด้านในจมูกแล้วนำวัสดุห้ามเลือดออกตามคำแนะนำของแพทย์
  • 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ควรทำความสะอาดล้างจมูกเพื่อชำระคราบเลือดออก
    ซึ่งจะได้รับคำแนะนำและสอนวิธีการล้างจมูกด้วยตนเองจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาล
  • มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการจนกว่าจะหายเป็นปกติ

อันตรายแค่ไหน ถ้าไม่รักษาผนังกั้นจมูกคด?

โรคผนังกั้นจมูกคดเป็นโรคที่ไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นโรคที่ทำให้มีอาการรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ซึ่งนอกจากจะทำให้คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจไม่ออก ปวดจมูกแล้ว ยังเป็นสาเหตุของอาการนอนกรนได้ด้วย

ดังนั้น หากพบว่าตัวเองมีอาการที่สุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคผนังกั้นจมูกคด ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้เรากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีความสุข

 

พญ. นภารัตน์ จิระวัฒนผลิน

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า

โรงพยาบาลพญาไท 3

บทความที่เกี่ยวข้อง
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า