สุขภาพพังเพราะไส้เลื่อน

ออกกำลังกายหนักต้องระวัง สุขภาพพังเพราะไส้เลื่อน

มั่นใจเลยว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า “ไม่ใส่กางเกงใน ระวังจะเป็น ไส้เลื่อน ” ซึ่งในความเป็นจริงทางการแพทย์นั้น มีผลวิจัยที่ชี้ชัดแล้วว่า จะใส่หรือไม่ใส่กางเกงใน ก็ไม่มีส่วนสำคัญต่อโอกาสเกิด ไส้เลื่อน แต่อย่างใด แต่ตัวต้นเหตุสำคัญที่มีโอกาสทำให้คนเราเป็น ไส้เลื่อน ได้มากขึ้น ซึ่งทุกคนอาจไม่เคยทราบมาก่อนนั้น ก็คือ “การซิทอัพหนัก ๆ ยกเวทหนัก ๆ” ต่างหาก

ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตได้แบบสบายใจห่างไกลจากโรคนี้กันได้มากขึ้น การทำความรู้จักกับโรคไส้เลื่อนแบบจริง ๆ จัง ๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เราปลอดภัยได้มากที่สุด

ไส้เลื่อนคืออะไร ทำไมไส้ถึงเลื่อนได้?

ไส้เลื่อน คือ การที่ไส้เกิดการย้ายที่ไปจนผิดตำแหน่ง โดยเป็นการเลื่อนจากช่องว่างหนึ่งไปยังอีกช่องว่างหนึ่ง ที่ผิดไปจากตำแหน่งปกติ โดยสาเหตุเกิดมาจากการความอ่อนแอของผนังหน้าท้อง ซึ่งอาจเกิดจากการมีรูที่ผนังหน้าท้องมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดจากภาวการณ์มีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นจนทำให้เกิดรู และเกิดเป็นไส้เลื่อนได้

ทั้งนี้ ไส้เลื่อนมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด ซึ่งจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่เกิด โดยชนิดของไส้เลื่อนที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ไส้เลื่อนขาหนีบ และรองลงมาคือไส้เลื่อนผนังหน้าท้อง และไส้เลื่อนจากแผลผ่าตัด ตามลำดับ

คนกลุ่มไหน พฤติกรรมแบบไหน เสี่ยงทำให้ไส้เลื่อน?

กลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อนมาที่สุด คือคนที่มีภาวะผนังหน้าท้องอ่อนแรงหรือเป็นรูมาตั้งแต่กำเนิด แต่ทั้งนี้ถึงจะเกิดมาด้วยผนังหน้าท้องที่ปกติ ก็ยังสามารถที่จะเป็นโรคไส้เลื่อนได้ หากมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่กระตุ้นให้เกิดความดันในช่องท้องมากขึ้น โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไส้เลื่อน ได้แก่

  • คนที่ยกของหนัก ออกกำลังกายหนัก ๆ ซิทอัพเยอะ ๆ บ่อย ๆ ซึ่งยิ่งถ้ามีภาวะผนังหน้าท้องอ่อนแอมาแต่กำเนิดด้วยแล้ว ก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้มากขึ้น
  • คนที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเป็นประจำ เพราะเหล้าและบุหรี่มีผลต่อการเพิ่มความดันในช่องท้อง รวมถึงทำให้เกิดอาการไอหนัก ไอเรื้อรังได้ ซึ่งก็จะยิ่งทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น และมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้มากขึ้น
  • คนที่ทำงานใช้แรงงาน อาทิ ทำไร่ ทำนา ที่ต้องขุดดิน ยกของหนัก เป็นประจำ จะมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้มากกว่าคนที่ประกอบอาชีพอื่น เพราะลักษณะของการทำงานที่ใช้แรงงานเยอะนั้น จะทำให้แรงดันในช่องท้องมีมากขึ้นจนเป็นเหตุทำให้เกิดไส้เลื่อนได้
  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จะพบว่ามีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้มากขึ้น เนื่องจากการใช้ชีวิตมาอย่างหนัก ตรากตรำ ออกแรง ใช้งานผนังหน้าท้องมาเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ผนังหน้าท้องอ่อนแรง จนมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้ง่ายมากกว่า
  • ผู้ชายมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้มากกว่าผู้หญิง เนื่องจากสรีระของผู้ชายมีท่อนำอสุจิออกมาบริเวณอัณฑะ ผู้ชายทุกคนจึงมีรูอยู่แล้วตรงขาหนีบ จึงทำให้มีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้มากกว่า ทั้งนี้ยิ่งสำหรับผู้ชายสูงวัยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต ก็ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคไส้เลื่อนมากขึ้น เพราะจะทำให้ต้องเพิ่มแรงเบ่งปัสสาวะ ส่งผลทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้นจนดันโอกาสเกิดไส้เลื่อนให้มีมากขึ้นได้

มีอาการอย่างไร เมื่อเป็นไส้เลื่อน?

อาการของไส้เลื่อนโดยส่วนใหญ่นั้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คือจะรู้สึกหน่วง ๆ บริเวณขาหนีบ คลำพบก้อนได้เลย และมองเห็นได้ว่ามีก้อนแปลกออกมาบริเวณอัณฑะ ทั้งนี้ โดยปกติทั่วไปแล้ว “ไส้เลื่อนจะไม่ปวด” แต่จะเป็นเพียงแค่ความรู้สึกหน่วง ๆ เท่านั้น แต่หากพบว่ามีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย อาจเกิดจากการที่ตัวลำไส้เกิดการอุดตันจนเกิดภาวะขาดเลือด

และสำหรับความอันตรายของไส้เลื่อนนั้นคือ อาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ถ้าหากเราปล่อยให้ไส้เลื่อนออกมาแล้วไม่รู้ตัว ไม่รีบรักษา จนลำไส้ถูกรัดด้วยตัวรูจนขาดเลือด และเน่าจนลำไส้ทะลุ ซึ่งในกรณีร้ายแรงที่สุดนี้ มักเกิดกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่รู้ตัว และปล่อยไส้เลื่อนทิ้งไว้จนถึงภาวะอันตราย

รักษาได้อย่างไร เมื่อเป็นไส้เลื่อน?

โดยทั่วไปแล้วการวินิจฉัยไส้เลื่อนนั้นทำได้ง่ายมากด้วยการตรวจร่างกายก็ทราบได้อย่างแน่ชัดแล้วว่าเป็นไส้เลื่อนหรือไม่ เพราะมองเห็นได้ด้วยตา และคลำพบได้ง่าย แต่สำหรับคนไข้บางรายที่ผนังหน้าท้องหนามากกว่าปกติ หรือในรายที่คนไข้มีน้ำหนักตัวมาก ก็อาจคลำไม่พบเช่นกัน หากในกรณีแบบนี้ ก็จะตรวจสอบด้วยการทำ CT Scan เพื่อให้แน่ชัดว่าเป็นไส้เลื่อนหรือไม่ และเป็นในบริเวณใด โดยหลังจากตรวจวินิจฉัยแน่ใจแล้วว่าเป็นไส้เลื่อน แพทย์ก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก

ซึ่งก็สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเปิด และการผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยหากเป็นไส้เลื่อนขาหนีบเพียงข้างเดียว แผลผ่าตัดจะเล็กมาก เพียงประมาณ 2-3 นิ้ว การผ่าตัดแบบเปิดกับการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องจะไม่แตกต่างกันมาก แต่หากเป็นไส้เลื่อนผนังหน้าท้อง หรือเป็นไส้เลื่อนขาหนีบ 2 ข้าง การผ่าตัดแบบส่องกล้องจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะแผลจะเล็กกว่า เจ็บน้อยกว่า และคนไข้จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด

ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลจากภัยไส้เลื่อน?

แนวทางในการดูแลตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคไส้เลื่อนนั้น หลัก ๆ คือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เพิ่มความดันในช่องท้อง ที่ทำให้มีโอกาสเกิดไส้เลื่อนได้มากขึ้น โดยเราควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักแบบหักโหมเกินไป ตลอดจนหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อโอกาสเกิดไส้เลื่อน

ในขณะเดียวกัน ก็หมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติ คลำมีก้อนบริเวณขาหนีบ รู้สึกหน่วงบริเวณขาหนีบ 2-3 วันแล้วไม่หาย ก็ควรรรีบมาปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอย่าลืมว่า การปล่อยไส้เลื่อนทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ อาจถึงขั้นทำให้ลำไส้เน่า แตกทะลุ และติดเชื้อจนเสียชีวิตได้

โดยภาพรวมแล้วไส้เลื่อน ถือเป็นหนึ่งในโรคที่โอกาสเกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับ “ตัวเราเองเป็นสำคัญ” คือหากเราดูแลตัวเองไม่ดี ใช้ชีวิตประมาท ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ปล่อยให้ตัวเองไอเรื้อรัง ใช้ร่างกายหนัก ออกแรงเยอะ ยกของหนักเกินไป ออกกำลังกายหักโหมเกินไป ก็จะทำให้เราเสี่ยงภัยไส้เลื่อนได้มากขึ้น ดังนั้น การดูแลตัวเองให้ดี ทำอะไรด้วยความพอดี ระมัดระวังตัวเองในการใช้ชีวิตเสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นอกจากจะทำให้เราปลอดภัยจากไส้เลื่อนได้แล้ว ก็ยังทำให้เราปลอดภัยจากโรคร้ายหรืออันตรายอื่น ๆ ได้ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า