ภูมิแพ้กำเริบ

เลี้ยงน้องแมวน้องหมา เป็นปัญหาทำให้ภูมิแพ้กำเริบจริงหรือ?

เป็นความเชื่อกันโดยมากอยู่แล้วว่า “ขนของน้องหมาน้องแมว” นั้น สามารถทำให้คนเป็น โรคภูมิแพ้ ได้ หรือทำให้อาการหอบหืด อาการภูมิแพ้กำเริบได้ จึงทำให้มีข้อสงสัยมากมายว่า แล้วแบบนี้สำหรับคนที่รักน้องหมาน้องแมว เลี้ยงน้องหมาน้องแมว ควรจะทำอย่างไรดีล่ะ? วันนี้เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราจะพาไปไขคำตอบว่าความเชื่อเหล่านั้น แท้จริงแล้วถูกหรือผิดกันแน่?

หอบหืด-ภูมิแพ้กำเริบ ไม่ได้เกิดเพราะน้องหมาน้องแมวเสมอไป

สิ่งแรกที่เราควรทำความเข้าใจคือ คนเป็นภูมิแพ้เป็นหอบหืด ไม่ได้เป็นเพราะน้องหมาน้องแมวทุกคน เพราะปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ หรือ อาการไอจาม อาการหอบหืดเรื้อรังนั้น มีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา ไรฝุ่น หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ ก็สามารถเป็นไปได้ โดยไม่จำเพาะเจาะจงเลยว่าจะต้องเป็นเพราะขนของน้องหมาน้องแมวเท่านั้น จึงทำให้เราไม่สามารถตอบได้อย่างแน่นอนว่า “การเลี้ยงน้องหมาน้องแมวจะทำให้เป็นภูมิแพ้ หรือทำให้อาการภูมิแพ้ อาการหอบหืดกำเริบ”

แต่ทั้งนี้ ก็เป็นความจริงที่ว่า “ขนของน้องหมาน้องแมว” คือหนึ่งในตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ แต่จะกระตุ้นเราหรือไม่นั้น จำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ให้แน่ชัดก่อน ซึ่งถ้าหากใช่ จึงค่อยมาเข้าสู่กระบวนการหาออกต่อไปว่า จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างไร ให้สามารถอยู่ร่วมกันกับน้องหมาน้องแมวที่รักให้ได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจที่สุด

ไขปริศนา ทำไมคนเราถึงแพ้ขนน้องหมาน้องแมว?

เหตุผลที่คนเราแพ้น้องหมาน้องแมวนั้น เพราะเขาเป็นสัตว์ที่มีขน แต่ในความเป็นจริงแล้วโดยส่วนใหญ่เราไม่ได้แพ้ขนน้องหมาน้องแมวอย่างที่เข้าใจกัน แต่สิ่งที่เราแพ้คือ “น้ำลาย” หรือ “สารคัดหลั่ง” ของน้องหมาน้องแมวต่างหาก อาทิ น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ เหงื่อ ซึ่งสารเหล่านี้จะติดอยู่ตามขนของน้องหมาน้องแมว ทำให้หากเราเป็นคนที่แพ้สารคัดหลั่งเหล่านี้ เมื่อไปสัมผัสถูกขนน้องหมาน้องแมวเข้า ก็จะเกิดอาการแพ้นั่นเอง

ทั้งนี้ กระบวนการในการแพ้ของคนเรานั้น ก็ขึ้นได้เพราะ เมื่อไรก็ตามที่เราสูดหรือรับ “สารแปลกปลอม” เข้าไป ร่างกายคนเราจะรู้ทันทีว่า “เป็นสิ่งแปลกปลอม” ซึ่งโปรตีนหรือสารคัดหลั่งของน้องหมาน้องแมวนั้น เป็นสารคนละชนิดคนละสายพันธุ์กันกับมนุษย์ จึงทำให้เมื่อได้รับเข้าไปร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ภูมิต้านทานของเราจะทำงานรับรู้ว่า “สิ่งเหล่านี้คือสิ่งแปลกปลอม” และทำให้เมื่อเจอครั้งต่อไป จะกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ เพื่อบอกเหล่าว่า ร่างกายไม่ต้องการสิ่งนี้ และเป็นที่มาของอาการภูมิแพ้นั่นเอง ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะแพ้น้องหมาน้องแมว แต่คนเราจะแพ้บางสิ่งบางอย่างแตกต่างกันไป ตามแต่ปฏิกิริยาร่างกายของแต่ละคน

ทราบหรือไม่ว่า ขนของน้องหมาน้องแมว จะมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งขนใหญ่นั้นสังเกตเห็นได้ง่าย ทำความสะอาดกวาดเบื้องต้นก็สามารถกำจัดได้ แต่สำหรับขนเล็กนั้น มีขนาดเล็กกว่า PM 2.5 เสียอีก จึงทำให้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และมีอายุอยู่ได้ยาวนานถึง 6 เดือน คือ หากเรานำเอาน้องหมาน้องแมวออกจากบ้าน แล้วถ้าไม่ทำความสะอาดอย่างเต็มที่ ขนของน้องหมาน้องแมวจะล่องลอยอยู่ในบ้านนั้นได้นานถึง 6 เดือนเลยทีเดียว ดังนั้น สำหรับใครที่แพ้น้องหมาน้องแมวอย่างหนักแล้วล่ะก็ การทำความสะอาดบ้านและจัดสรรพื้นที่ระหว่างน้อง ๆ กับเรา จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องใส่ใจและระมัดระวัง

จะทราบได้อย่างไรว่าเราเป็น 1 ใน คนที่แพ้น้องหมาน้องแมว?

วิธีการสังเกตหรือตรวจสอบตัวเองว่าแพ้ขนของน้องหมาหรือน้องแมวหรือไม่นั้น สามารถทำได้หลัก ๆ 2 วิธีคือ อันดับแรก ให้สังเกตจากพฤติกรรมที่เราใช้ร่วมกันกับน้องหมาน้องแมว โดยถ้าเราอยู่กับน้องหมาน้องแมวตลอดปี กินเลี้ยงเล่นกันทุกวัน แล้วมีอาการ อันนี้ตอบยาก ว่าเราป่วยหรืออาการกำเริบจากน้องหมาน้องแมวหรือไม่ เพราะอาการอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ก็ได้ แต่ถ้าเราไม่ได้อยู่กับน้องหมาน้องแมวตลอดเวลา เช่น ทำงานอยู่ต่างประเทศ ต่างจังหวัด กลับบ้านปีละครั้ง หลาย ๆ เดือนครั้ง แต่พอกลับมาได้อยู่กับน้องหมาน้องแมว แล้วมีอาการ คือ ตลอดทั้งปีไม่เป็น กลับมาเล่นกับน้องหมาน้องแมวที่บ้านแล้วเป็น

กรณีนี้มีโอกาสสูงว่า อาการเหล่านั้นอาจเกิดจากน้องหมาน้องแมวได้ แต่ก็ไม่สามารถฟันธงได้อย่างแน่นอนอยู่ดี ซึ่งหากต้องการทราบให้แน่ชัดเลยว่า ใช่หรือไม่ สามารถทำได้ด้วยวิธีการที่ 2 คือ เข้ารับการตรวจเลือดทำ Skin Test ซึ่งจะทำให้เราทราบได้เลยว่า เราแพ้สารคัดหลั่ง หรือสิ่งแปลกปลอมชนิดใดกันแน่ เป็นขนน้องหมาน้องแมวใช่หรือไม่ หรือว่าจริง ๆ แล้วแพ้ไรฝุ่น สิ่งสกปรก หรือเกสรดอกไม้ ฯลฯ เป็นต้น

เป็นหอบหืดเป็นภูมิแพ้ แต่อยากเลี้ยงน้องหมาน้องแมว ทำได้หรือไม่?

โดยทั่วไปแล้ว จำเป็นต้องพิจารณาจากอาการแสดงว่ามีอาการแพ้ที่รุนแรงมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากไม่ได้มีอาการที่รุนแรงมากนัก ก็สามารถที่จะปรับตัวและหาวิธีอยู่ร่วมกันได้แบบที่ให้ลดโอกาสเสี่ยงลงมากที่สุด ควบคู่กันกับการใช้ยาภูมิแพ้ แต่ถ้าหากเราเป็นคนที่มีอาการแพ้รุนแรงก็ถือว่ามีโอกาสเสี่ยงอันตรายสูง ถ้าหากยังยืนยันจะอยู่ร่วมกันกับน้องหมาน้องแมว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการ และค่อย ๆ ทดลองหาวิธีการอยู่ร่วมกันก่อน แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ปลอดภัยมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยของต่างประเทศ เคยมีการค้นพบว่า ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี หากนำเอาน้องหมาน้องแมวมาเลี้ยงร่วมด้วย เด็กจะมีภูมิต้านทานที่ทำให้ไม่เป็นภูมิแพ้ได้ แต่สำหรับในผู้ใหญ่นั้น ไม่พบว่า คนที่มีอาการภูมิแพ้จะสามารถปรับตัวเองให้ไม่แพ้สารนั้น ๆ ได้

ดูแลน้องหมาน้องแมวอย่างไร ให้อยู่ร่วมกันในบ้านได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกับในบ้านที่มีสมาชิกเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ก็ตาม ในการเลี้ยงน้องหมาน้องแมวนั้น ก็ควรที่จะดูแลให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  1. หมั่นอาบน้ำน้องหมาน้องแมวเป็นประจำเพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการสะสมของเชื้อโรค เห็บ หรือแบคทีเรียต่าง ๆ โดยควรอาบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
  2. หมั่นทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการสะสมขนของน้องหมาน้องแมว
  3. หลีกเลี่ยงการใช้พรม ผ้าม่าน หรือการมีตุ๊กตาขนตกแต่งในห้อง เพราะอาจเป็นพาหะให้ขนของน้องหมาน้องแมวเกาะติดสะสมได้
  4. ถ้าเป็นไปได้ควรมีการจัดสรรแบ่งพื้นที่ ระหว่างน้องหมาน้องแมวกับคนอย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถอยู่รวมกันได้อย่างปลอดภัย โดยอาจกันพื้นที่เอาไว้สำหรับส่วนของสมาชิกที่เป็นโรคภูมิแพ้ ให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการถูกกระตุ้นจนเป็นอันตราย และสามารถอยู่ในบ้านได้อย่างมีความสุข

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแพ้ขนของน้องหมาน้องแมว และอาการความรุนแรงของการแพ้นั้นก็แตกต่างกันไป ดังนั้น อย่าเพิ่งเหมารวมเอาว่าน้องหมาน้องแมวเป็นสาเหตุของโรคภัย หรือเป็นอันตราย แต่เราควรที่จะตรวจสอบหาสาเหตุ และลองปรับตัวอยู่ร่วมกับน้องหมาน้องแมวดูก่อน เพราะถ้าเราเป็นหนึ่งในคนที่รักสัตว์แล้ว การได้อยู่ร่วมกันกับพวกเขา การที่ได้เห็นน้องหมาน้องแมววิ่งเล่นอยู่ในบ้านเรา ก็ถือเป็นความสุขที่เราไม่จำเป็นต้องปล่อยทิ้งไป เพราะสามารถที่จะทำให้เป็นจริงได้

 

น้องหมาน้องแมวไม่ใช่ตัวการ

ทำให้เกิดภูมิแพ้เสมอไป

อย่าเพิ่งกลัวหรือเสียใจ

จนกว่าจะได้ลองทำ Skin Test”

 

นายแพทย์วินัย โบเวจา 

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจ 

โรงพยาบาลพญาไท 3

บทความที่เกี่ยวข้อง
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า