Metabolic Syndrome อ้วนลงพุง

อ้วนลงพุง โอกาสเป็นโรคร้ายพุ่งจากภาวะ Metabolic Syndrome

Metabolic Syndrome หากเอ่ยถึงชื่อนี้ เชื่อเหลือเกินครับว่าคงมีไม่กี่คนที่จะรู้จัก หรือคุ้นหู แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น “ภาวะอ้วนลงพุง” ล่ะก็ แน่นอนว่าตอนนี้ทุกคนอาจจะกำลังเอามือจับพุงตัวเองอยู่ก็ได้ เพื่อพิสูจน์แบบเร็ว ๆ ว่าฉันเป็นภาวะโรคนี้หรือเปล่า? ซึ่งแม้ภาวะอ้วนลงพุงดูจะไม่ได้มีอาการความเจ็บปวดอะไรที่รุนแรง แถมยังแสดงออกถึงความมีอันจะกิน อยู่ดีกินดีอีก

แต่ทราบหรือไม่ครับว่า เมื่อเราเปิดโอกาสให้พุงตัวเองขยายออกเกินไปเมื่อไร เมื่อนั้นก็เท่ากับว่าเราได้เปิดประตูเชื้อเชิญโรคภัยร้ายแรงมากมายให้มาสู่ร่างกายเราแล้ว ซึ่งเพื่อให้เรารู้เท่าทันเจ้าภาวะอ้วนลงพุงมากขึ้น วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Metabolic Syndrome กันแบบละเอียด จะได้ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Metabolic Syndrome คืออะไร อันตรายแค่ไหนกันแน่?

“Metabolic Syndrome” หรือ “ภาวะบกพร่องเผาผลาญอาหาร” จริง ๆ แล้วไม่ใช่โรค แต่เป็น “กลุ่มอาการ” ที่เรียกได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการทำให้คนเราเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังร้ายแรงได้ โดยเฉพาะโรคในกลุ่ม NCD หรือ Non-Communicable Disease ซึ่งหมายถึง “กลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคติดต่อ” โดยโรคยอดฮิตในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีก็เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจตีบ มะเร็ง และโรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคนั้นถือว่าเป็นโรคร้ายแรงที่ปัจจุบันคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากทุกปี

ทั้งนี้ แนวโน้มของภาวะ Metabolic Syndrome นั้น นับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไปทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหาร ที่มีการใช้พลังงานต่อวันน้อยลง แต่แคลอรี่ที่รับมาจากอาหารทั้งจากมื้อหลักและมื้อพิเศษอื่น ๆ ที่มากเกินไป ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อเราเกิดภาวะMetabolic Syndrome ได้ง่าย นั่นก็หมายความว่าเราเสี่ยงที่จะถูกโรคร้ายทำลายชีวิตได้ง่ายมากขึ้นด้วยนั่นเอง

จะทราบได้อย่างไรว่า เราเข้าใกล้ภาวะMetabolic Syndrome

ข้อบ่งชี้ที่จะบอกเราได้ว่าเป็นMetabolic Syndrome หรือร่างกายมีภาวะบกพร่องเผาเผลาญหรือไม่นั้น สามารถวัดได้จากเกณฑ์ 5 ข้อ ตามแนวทางของ “The National Cholesterol Education Program Adult Treatment Panel III” (NCEP ATP III) (2005) ซึ่งเป็นองค์กรของทางสหรัฐอเมริกา โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  1. ดัชนีมวลกาย หรือ BMI มากกว่า 30 ขึ้นไป ทั้งในชายและหญิง หรือหากวัดจากเส้นรอบพุง ในผู้หญิงคือ เกิน 80 ซม. ขึ้นไป ส่วนในผู้ชาย คือ เกิน 90 ซม. ขึ้นไป
  2. ความดันโลหิต ตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป
  3. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
  4. ระดับไตรกลีเซอไรด์ ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
  5. HDL หรือ ไขมันดี ในเพศชาย ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และในเพศหญิง ต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

หากเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีแล้วผลพบว่า มี 3 ใน 5 ข้อเข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด นั่นแสดงให้เราเห็นว่าร่างกายมีภาวะMetabolic Syndrome แล้ว และหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่แก้ไข ก็จะทำให้เรามีโอกาสป่วยเป็นโรคร้ายในกลุ่ม NCD ได้ง่ายมากขึ้น

รักษาอย่างไร เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าเป็นMetabolic Syndrome

แนวทางในการรักษาภาวะMetabolic Syndrome นั้น สิ่งสำคัญแรกสุดที่ต้องทำเลยคือ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” หรือปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของตัวเอง เพราะMetabolic Syndrome เกิดขึ้นมาจากการรับประทานอาหารเกินเกณฑ์ การไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายใช้พลังงานต่อวันน้อย แต่ได้รับพลังงานมาก

ดังนั้น หนทางในการแก้ไข จึงจำเป็นต้องโฟกัสไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย ส่วนจะปรับเปลี่ยนอย่างไรนั้น ก็ให้เทียบเคียงจากผลตรวจสุขภาพที่ได้ โดยมีตัวอย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามผลตรวจสุขภาพ ดังต่อไป

  • หากพบว่า BMI สูง ก็จำเป็นจะต้องควบคุมอาหาร
  • หากพบว่าความดันสูง ก็ต้อง งด ลด เลี่ยง อาหารรสเค็ม รสจัด
  • หากผมว่าน้ำตาลสูง ก็ต้อง งด ลด เลี่ยง ของหวาน แป้ง ขนมระหว่างมื้อ
  • หากพบว่า HDL ต่ำกว่าเกณฑ์ ก็ต้องเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น

ทั้งนี้ ในภาพรวมของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้หายจากภาวะMetabolic Syndrome นั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า เราต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ลด เลี่ยง ของเค็มจัด หวานจัด มันจัด เหล้า บุหรี่ เลิกได้ก็ควรเลิก

นอกจากนั้นก็ควรพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ถ้าหากทำได้อย่างมีวินัย ก็จะพบว่าผลตรวจสุขภาพในปีต่อ ๆ ไปนั้น จะออกมาดี อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งก็จะหมายความว่า เราได้ห่างไกลไปจากภาวะMetabolic Syndrome แล้ว และแน่นอนว่า โอกาสเป็นโรคร้ายก็จะลดน้อยลงไปด้วยนั่นเอง

อันตรายแค่ไหน ถ้าปล่อยให้อยู่ในภาวะMetabolic Syndrome

Metabolic Syndrome ไม่ใช่ภาวะที่จะทำให้เรามีอาการเจ็บปวด หรือขัดขวางการใช้ชีวิตของเราจนทำให้ไม่มีความสุข แต่เป็นสัญญาณที่กำลังบอกเราว่า “สุขภาพของเรากำลังแย่แล้ว” และหากยังปล่อยให้แย่แบบนี้ต่อไป โรคร้ายที่เป็นอันตรายถึงชีวิตจะเข้าสู่ร่างกายเราได้อย่างง่ายดาย เมื่อไรก็ตามที่เราปล่อยให้ตัวเองมีภาวะMetabolic Syndrome หรืออ้วนลงพุง ปล่อยให้มีความดันสูง น้ำตาลสูง และยิ่งถ้าอายุมากขึ้น นั่นหมายความว่าเรากำลังเสี่ยงอันตรายอย่างมาก เพราะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจตีบ ฯลฯ

โรคเหล่านี้นั้น มีความรุนแรงทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในขณะเดียวกัน เป็นแล้วก็ต้องทานยารักษาตลอดชีวิต ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายต่อเนื่องจำนวนมาก ดังนั้น การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากภาวะMetabolic Syndrome จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะเหมือนเป็นการปิดประตูไม่ให้โรคร้ายเข้ามาปล้นทรัพย์เรา ตลอดจนป้องกันไม่ให้เข้ามาทำร้ายทำลายชีวิตเราด้วย

Metabolic Syndrome คือ Gate Way ของโรคร้าย และเป็นสิ่งที่พบได้มากที่สุดในการตรวจสุขภาพประจำปีของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป นั่นเองจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรตรวจสุขภาพประจำปี คือเพื่อให้เราหาเจอว่าร่างกายของเรากำลังแย่อยู่หรือเปล่า กำลังเปิดประตูให้โรคร้ายเข้ามาสู่ร่างกายหรือเปล่า ซึ่งเมื่อเราทราบผลแล้ว ก็จะได้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไข ให้กลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นปกติได้

ภาวะMetabolic Syndrome เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเรื่องการกินอยู่การใช้ชีวิตของตัวเราเองล้วน ๆ ซึ่งเราสามารถควบคุมแก้ไขได้ ดังนั้นสุดท้ายแล้วเราจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์หรือไม่ หรือแข็งแรงสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจะกลายเป็นคนป่วยที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลตลอดชีวิตหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองทั้งนั้น ซึ่งถ้าไม่อยากให้ตัวเองต้องป่วย ไม่อยากต้องเสียค่ารักษาพยาบาลแพง ๆ ล่ะก็ การเริ่มต้นดูแลตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอยู่ให้เหมาะสม และเข้ารับการตรวจสุขภพเป็นประจำทุกปีตั้งแต่วันนี้ คือหนทางที่ถูกต้องและดีที่สุดที่เราควรเลือกให้กับ…ชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า