10 สิ่งควรรู้เรื่อง การนั่ง & เคลื่อนไหว ที่อาจเปลี่ยนชีวิตคุณไปตลอดกาล

ใน 1 วัน เรานั่งกันกี่ชั่วโมงครับ? หลายๆ คนอาจไม่เคยนับจำนวนที่แน่นอน แต่เชื่อเถอะครับว่า ไม่ว่าเราจะเป็นนักกีฬา เป็นโค้ช เป็นเทรนเนอร์ หรือเป็นคนธรรมดาๆ

ที่ประกอบอาชีพอื่นๆเราต่างก็มีช่วงเวลาที่ต้องใช้ร่างกายของเราให้อยู่ในท่านั่งวันๆ หนึ่งนั้นต้องมีหลายชั่วโมงติดต่อกันแน่ๆ ซึ่งแม้จะดูเป็นเรื่องปกติ แต่ทราบหรือไม่ครับว่า “การนั่ง” นั้น อาจมีผลทำให้ร่างกาย “ผิดปกติ” ได้ ซึ่งหากถามว่าร้ายแรงขนาดไหน คำตอบก็คือ ร้ายแรงถึงขั้นที่สหรัฐอเมริกาให้ฉายาใหม่ให้แก่การนั่งเป็นสโลแกนเอาไว้เลยว่า “Sitting is the new Smoking” และต่อจากนี้ไป คือ 10 ความจริงเกี่ยวกับเรื่องการนั่งและการเคลื่อนไหว ที่เราควรตระหนักรู้ไว้ เพื่อให้สุขภาพร่างกายของเราแข็งแรง และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

  1. ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดจากการนั่งติดต่อกันนานเกินไป คือ อาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่
  2. ไม่มีท่านั่งใดที่เหมาะสำหรับการนั่งเป็นเวลายาวนาน เพราะร่างกายคนเราต้องการการเคลื่อนไหวบ่อยๆ และที่สำคัญที่สุดคือควรได้รับการเปลี่ยนแปลงท่าทางอย่างสม่ำเสมอ
  3. การนั่งยองๆ ด้วยท่า Squat โดยมีบาร์เหล็กอยู่ด้านบนหลังนั้น หากใช้เวลานานเกินไปจะส่งผลทำให้กระดูกสันหลังมีปัญหาได้
  4. หลักการทำงานของกล้ามเนื้อคือ หากมันต้องทำงานตลอดเวลาออกซิเจนจะค่อยๆ ถูกใช้ไปจนหมด จนทำให้เกิดการเมื่อยล้า ดังนั้น ไม่ว่าจะนั่ง เดิน ยืน หรือการเคลื่อนไหวท่าทางด้วยท่าอะไรก็แล้วแต่ หากทำซ้ำท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป จะส่งผลเสียในทุกกรณี
  5. ร่างกายของคนเราถูกธรรมชาติออกแบบมาให้เคลื่อนไหว ดังนั้น ไม่ว่าจะทำท่าทางได้อย่างถูกต้องหรือไม่ถูกต้องเพียงใด ถ้าเราอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ล้วนก่อให้เกิดผลเสียทั้งสิ้น
  6. ยิ่งเคลื่อนไหวมากเท่าไร ร่างกายจะยิ่งแข็งแรง และยิ่งเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้นมากเท่าไร
  7. การเคลื่อนไหวร่างกาย ให้ร่างกายเปลี่ยนท่าทางจากเดิมในทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ได้รับการศึกษาวิจัยแล้วว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้มากถึง 24%
  8. การออกกำลังกายเป็นประจำ การเคลื่อนไหวอย่างกายอย่างสม่ำเสมอมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเบาหวานประเภท 2 ได้
  9. เทคนิคในการบังคับให้ร่างกายขยับ และเคลื่อนไหวท่าทางระหว่างวันให้ได้จำนวนมากครั้งแบบง่ายๆ คือการดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ซึ่งถือว่าการดี 2 ต่อคือ ร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอ และยังได้ขยับร่างกาย ไม่ทำให้อยู่ในท่านั่งนานเกินไปจนทำให้เกิดอาการปวดล้าด้วย
  10. หากพบว่ามีอาการปวด เมื่อยล้า ไม่ว่าจะส่วนใดในร่างกาย อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด ควรรีบรักษา โดยขอคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด เพื่อนวดฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติ ไม่สะสมจนกลายเป็นอาการบาดเจ็บ ปวดเมื่อยเรื้อรัง ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต

 

บทสรุปจากข้อเท็จจริงทั้ง 10 ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราเห็นว่า การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพียงแค่ 1 ชั่วโมงก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้แล้ว ในขณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ต้องไม่หักโหมให้ร่างกายอยู่ในท่านั้นๆ ต่อเนื่องนานเกินไป เพราะแม้ว่าเราจะทำท่าทางได้อย่างถูกต้อง แต่ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายอยู่ดี ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากว่า ร่างกายคนเราถูกสร้างมาให้เคลื่อนไหว ดังนั้น การฝึกให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง เหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่ดี และเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ร่างกายเราแข็งแรง สามารถแสดงศักยภาพร่างกายออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักกีฬาทุกประเภทนั่นเอง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า